ทำเอาแฟนๆ ที่ทราบข่าวต่างส่งกำลังใจให้ สาวพิม เข้มแข็งมากมาย ซึ่งเจ้าตัวก็กำลังใจดีเยี่ยม หันมาดูแลตัวเอง ทั้งสุขภาพและอาหารการกิน ปฏิบัติธรรมภาวนาเป็นที่พึ่งทางใจ และยังเคยโพสต์บันทึกข้อความผ่านอินสตาแกรมส่วนตัวหลังเข้าคอร์สเผชิญความตายกับพระอาจารย์ว่า…
“สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้มาฝากนะคะ พิมพ์มีความสุขมากกับการมาเข้าคอร์ส เผชิญความตาย ด้วยใจสงบ ในครั้งนี้ การเตรียมตัวตายไม่ใช่เป็นการแช่งตัวเองแต่อย่างใด แต่เตรียมพร้อมและยอมรับกับสิ่งที่เราทุกคนไม่มีวันหนีพ้น นั่นคือ ความตาย แต่จะตายแบบไหนเราฝึกได้ กราบพระอาจารย์ ไพศาล วิสาโล #หนูเลื่อมใสและศรัทธาในคำสอนของพระอาจารย์จริงๆ ค่ะ”
จะเห็นได้เลยว่าพิมพ์นั้น เป็นคนที่มีจิตใจแข็งแรง และกำลังใจดีมาก จึงทำให้เธอนั้นพิชิตโรคร้ายได้อยู่หมัด ซึ่งตรงกับคุณสมบัติ
จะทำอย่างไรให้หายจากโรคมะเร็ง
นอกเหนือไปจากการไปหาหมอตามนัด และ ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์แล้ว ผู้ป่วยควรปฏิบัติตนดังนี้
– มีศรัทธาในชีวิตไว้เสมอ เชื่อมั่นในส่ิงที่ดีงาม จะทำให้เรามองโลกในแง่ดี จิตใจสบาย ไม่มีความเครียด ไม่มีความวิตกกังวล
– มีความเพียรพยายาม ไม่ท้อถอย มีใจสู้เสมอ ถ้าผู้ป่วยต้องการมีชีวิตอยู่ต่อไป ก็พยายามปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์ รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอทุกวัน
– มีสติ รู้ตัวอยู่เสมอว่าทำอะไรอยู่ ทำเพื่ออะไร ไม่พลั้งเผลอ ไม่วู่วาม ไม่วิตกกังวล ไม่โกรธง่าย
– ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะต้องมีชีวิตอยู่ต่อไป และต้องหายขาดจากโรคมะเร็งนี้ให้ได้ การตั้งใจเช่นนี้ จะทำให้มีกำลังใจดีในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง
– มีปัญญา เข้าใจความเป็นไปของธรรมชาติของชีวิต เข้าใจในกฏแห่งธรรมชาติ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ มีเกิด ก็ย่อมมีดับ รู้จักยอมรับในสิ่งที่เราเปลี่ยนแปลงไม่ได้ มีความหวังในสิ่งที่ดีที่สุดเสมอ แต่ก็เตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสิ่งที่แย่ที่สุดได้เสมอเช่นกัน
ทำให้สาวๆหลายคนยังวิตกกังวลว่าเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นกับตนเองหรือไม่ มะเร็งรังไข่มีสาเหตุและจะมีอาการแบบไหน ว่าเเล้วไปทราบข้อมูลเบื้องต้นกันเลยดีกว่า
รังไข่มีลักษณะคล้ายเมล็ดอัลมอนด์ อยู่สองข้าง ข้างซ้ายขวาของโพรงมดลูก ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศหญิงและไข่ มี 4 ระยะได้แก่ ระยะ 1 : เซลล์มะเร็งยังอยู่ภายในรังไข่ 1 หรือ 2 ข้าง ระยะ 2 : เซลล์มะเร็งกระจายจากรังไข่สู่อวัยวะในช่องเชิงกราน เช่น ท่อนำไข่ หรือมดลูก ระยะ เซลล์มะเร็งกระจายจากรังไข่และช่องเชิงกราน ไปยังช่องท้องหรือต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง ระยะ 4 : เซลล์มะเร็งกระจายจากรังไข่ไปยังอวัยวะที่ไกลออกไป เช่น ตับ ปอด
สาเหตุของโรคมะเร็งรังไข่อาจยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ก็พบเหตุส่งเสริมที่อาจจะทำให้เกิดมะเร็งรังไข่ได้ดังต่อไปนี้
1. สภาพแวดล้อม เช่น สารเคมี อาหาร เนื่องจากพบว่าในประเทศอุตสาหกรรมมีผู้ป่วยเป็นมะเร็งรังไข่มากกว่าประเทศเกษตรกรรม
2. สตรีที่ไม่มีบุตร หรือมีบุตรน้อย
3. ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งที่เต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งระบบทางเดินอาหาร โอกาสเป็นมะเร็งรังไข่อาจมีมากกว่าคนปกติ
มะเร็งรังไข่ ใครเสี่ยงบ้าง ?
นอกจากปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งรังไข่แล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้ที่อาจเพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งรังไข่ให้คุณสาว ๆ ได้ด้วย คือ
1. อายุ 2 ใน 3 ของผู้ป่วยมะเร็งไข่ มีอายุเฉลี่ย 55 ปี หรือมากกว่า แต่ก็สามารถพบมะเร็งรังไข่ในเด็กหญิงก่อนหรือหลังวัย 10 ปี ได้เช่นกัน
2. ประวัติครอบครัว โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีแม่ พี่สาว น้องสาว ยาย ป้า หรือน้า เป็นมะเร็งรังไข่ จะมีความเสี่ยงการเป็นมะเร็งรังไข่สูงขึ้น
3. การกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม (Genetic Mutations) ในผู้ที่พบการกลายพันธุ์ของ 1 ใน 2 ยีนมะเร็งเต้านม BRCA1 และ BRCA2 มีความเสี่ยงการเกิดมะเร็งรังไข่สูงขึ้น
4. รอยโรคมะเร็งเต้านม, ลำไส้ใหญ่ หรือเยื่อบุโพรงมดลูก ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่ง มีความเสี่ยงสูงขึ้นในการพัฒนาเป็นมะเร็งรังไข่ได้
5. การคลอดบุตร ผู้หญิงที่มีการคลอดบุตรอย่างน้อย 1 คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนอายุ 30 ปี มีความเสี่ยงมะเร็งรังไข่น้อยกว่าผู้หญิงที่มีบุตรหลายคน และการให้นมบุตร พบว่ามีความเสี่ยงมะเร็งรังไข่น้อยลง
6. โรคอ้วน ผู้หญิงที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ที่ 30 หรือสูงกว่า อาจมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่มากขึ้น
7. การใช้ฮอร์โมนทดแทน (HRT) บางการศึกษามีการเชื่อมโยงระหว่างฮอร์โมนทดแทน (HRT) และมะเร็งรังไข่ ซึ่งความเสี่ยงนี้ดู
channelnewsthailand.com
No comments: